บริการงานจดทะเบียน


  
 
งานการจดทะเบียน     
เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี
เมื่อท่านตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจเป็นของตนเองและรู้ชัดแล้วว่าจะทำธุรกิจอะไร สิ่งที่ท่านต้องตัดสินใจต่อไป คือเลือกว่าจะดำเนิน ธุรกิจในรูปแบบใด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยเมื่อท่านได้ทราบข้อแตกต่างของรูปแบบ ธุรกิจแต่ละประเภทแล้วก็จะเป็นการง่ายสำหรับท่านที่จะตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจของท่านควรดำเนินการในรูปแบบใด


บุคคลธรรมดา
หรืออีกนัยหนึ่ง คือ “ธุรกิจเจ้าของคนเดียว” ลักษณะของกิจการประเภทนี้คือ การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ เพียงคนเดียว การตัดสินใจต่าง ๆ อยู่ในลักษณะ คิดคนเดียว ทำคนเดียว ซึ่งผลดีคือตัดสินใจง่ายและรวดเร็ว แต่ผลจากการคิดคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นผลดี…ได้กำไร หรือเป็นผลเสีย….ขาดทุน ก็รับผลคนเดียวเต็ม ๆ ซึ่งลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะดีมาก ถ้าเจ้าของไม่มีปัญหา เรื่องเงินทุนหมุนเวียน เพราะธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถระดมทุนจากใครได้

ลักษณะการเสียภาษี เป็นไปตาม “อัตราก้าวหน้า” ซึ่งหมายถึง ถ้ารายได้มาก ก็จะเสียภาษีมากโดยอัตราภาษี สูงสุด ถึง 37% ของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย

นั่นคือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกำหนดไว้ เป็น 2 ลักษณะ คือ อัตราเหมา (กำหนดเป็นปอร์เซ็นต์ตายตัวตามประเภทของธุรกิจ) และค่าใช้จ่าย ตามจริง(ต้องอ้างอิงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สรรพากรยอมรับได้ หลังจากนั้นจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว จึงจะเป็นฐานภาษีสำหรับ คำนวณภาษีที่ต้องชำระ

นิติบุคคล
เป็นรูปแบบธุรกิจที่ตกลงทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งเป็นผลกำไร ตามอัตราส่วนที่แต่ละคนได้ลงทุน ซึ่งแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ

1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ

มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ไม่น้อยกว่า 2 คน• ลักษณะธุรกิจประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล• ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน• ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีสถานะเป็นคณะบุคคล• ถ้าจดทะเบียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"

การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค (2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด

• ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล• ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ1. ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัด ไม่เกินเงินที่ได้ลงทุนไป ซึ่งหุ้นส่วน ประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในกิจการ2. ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบในหนี้สิน “ไม่จำกัดจำนวน” ในที่นี้คือ “หุ้นส่วนผู้จัดการ”ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีหน้าที่รับผิดชอบ และมีสิทธิเต็มที่ในการตัดสินใจใน เรื่องต่าง ๆ ของกิจการ

การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี เหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

3.บริษัทจำกัด มีลักษณะจำเพาะดังนี้คือ

• แบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละ เท่า ๆ กัน
• มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท ไม่น้อยกว่า 3 คน
• ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน
• มีสภาพเป็นนิติบุคคล• สามารถระดมทุนได้มากและง่าย
• ลักษณะการตัดสินใจในการบริหารงานเป็นในรูปของคณะกรรมการบริษัท จึงทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่าแบบบุคคลธรรมดา


4.บริษัท ชาวต่างชาติ

โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาลงทุน คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้บริหาร ผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชายซึ่งเข้ามาทำงานในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือสำนักงานภูมิภาคบริษัทข้ามชาติ และคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน ที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการเพื่อให้บุคคลดังกล่าว ขออนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง จากประเภทนักท่องเที่ยวหรือคนเดินผ่านราชอาณาจักรเป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราว ในกรณีที่อยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน และการขอใบอนุญาตทำงาน ขอต่ออายุทำงานและขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานบุคคลต่างด้าว

ให้บริการด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงานสำหรับพนักงานต่างชาติดังต่อไปนี้

บริการยื่นขอวีซ่า ประเภทธุรกิจ 3 เดือน (Non B Visa)
• บริการยื่นขอหรือต่ออายุ วีซ่า ประเภทธุรกิจ 1 ปี
• บริการยื่นขอหรือต่ออายุ วีซ่าประเภทติดตามครอบครัว (O-Visa)
• บริการยื่นรายงานตัว 90 วัน• บริการเปลี่ยนเล่มหนังสือเดินทาง
• บริการยื่นขอหรือต่ออายุ ใบอนุญาตทำงานแก่คนต่างด้าว
• บริการแก้ไขหรือคืน ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว
• บริการขอตำแหน่งและบรรจุ คนต่างด้าวเข้าทำงาน (สำหรับบริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน)
• บริการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือแจ้งออกจากตำแหน่งหน้าที่ของคนต่างด้าว (สำหรับบริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน)
• บริการจดทะเบียนบริษัทชาวต่างชาติ
• บริการจดทะเบียนเลิก
• แก้ไขเปลี่ยนแปลง ที่อยู่,ย้ายสถานประกอบการทำงานของบุคคลต่างชาติ


ขอบเขตของงานบริการ
1. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จัดตั้งคณะบุคคล และจดทะเบียนพาณิชย์
2. จดทะเบียนแก้ไข นิติบุคคล ในเรื่องต่างๆ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสาขา เปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ เพิ่มทุน ลดทุน ฯ
3. จดทะเบียนเลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด และดำเนินการชำระบัญชี
4. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
5. ขอมีเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคล คณะบุคคล
6. จดเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ต่อกรมสรรพากร
7. จดเครื่องหมายการค้า,ขอใบอนุญาต สุรา,บุหรี่
8. ขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้าง ลูกจ้าง และแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้